กิจกรรม

สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ โดย คณาจารย์และนักศึกษา ได้รับมอบหมายจากคณบดี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ประสานโดยรองคณบดีฝ่ายบริหาร ให้นำเสนออาหารอาหารไฟน์ไดนิ่ง 10 รัชกาล ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร

สาขาวิชาอาหารและโภชนาการ โดย คณาจารย์และนักศึกษา ได้รับมอบหมายจากคณบดี คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ประสานโดยรองคณบดีฝ่ายบริหาร ให้นำเสนออาหารอาหารไฟน์ไดนิ่ง 10 รัชกาล ให้การต้อนรับคณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎร วันที่ 9 กันยายน 2567 ณ ห้องราชาวดี ชั้น 2 อาคารโชติเวช คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ ดังนี้
☝️อาหารไฟน์ไดนิ่ง 10 รัชกาล☝️
🫶คอร์สที่ 1 ตติยภูมิ 3 สหาย
คือ อาหาร 3 รัชกาล 3 คำ ดังนี้
1. ยำปลากุเลา ในรัชกาลที่ 10
“ปลากุเลาจากตากใบ” ได้รับการคัดเลือกเป็นหนึ่งในเมนูอาหารที่จะเสิร์ฟในงานเลี้ยงกาลาร์ดินเนอร์แก่ผู้นำ 21 เขตเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ เอเปค 2022 ซึ่งมี“ปลากุเลาจากตากใบ” ถือเป็นของดีจังหวัดชายแดนใต้ เป็นสินค้าท้องถิ่นขึ้นชื่อของ จ.นราธิวาส เพราะ “ปลากุเลาเค็มตากใบ” เป็นปลาสายพันธุ์ท้องถิ่นของ จ.นราธิวาส ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2559 คนทั่วไปขนานนามว่า “ราชาแห่งปลาเค็ม” เนื่องจากมีรสสัมผัสกลมกล่อม เนื้อฟู มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ ส่งผลให้ปลากุเลาเค็มตากใบ อาหารจัดนี้มีรสชาติเค็มหอมจากปลากุเลา เปรี้ยว หวาน รู้สึกเผ็ดจากพริกขี้หนูสวนและมีกลิ่นหอมของสมุนไพรไทย ในรสชาติของน้ำยำ นอกจากนั้นมีลูกเล่นจากลูกปานีปูรีทอด ที่มีเนื้อสัมผัสกรอบ
2. ไข่พระอาทิตย์ ในรัชกาลที่ 9
“ไข่พระอาทิตย์” เป็นเมนูง่าย ที่ พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร หรือ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเคยประกอบอาหารพระราชทานให้กับ สมเด็จพระเทพฯ เมื่อครั้งทรงพระเยาว์ ต่อมา สมเด็จพระเทพฯ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ นำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือ “ สูตรอาหารต้นตำหรับข้าวหอมมะลิไทยในครัวนานาชาติ” เหตุที่เรียกเมนูนี้ว่า ไข่พระอาทิตย์ นั้นก็เพราะว่าเมื่อเราส่องกล้องไปที่ดวงอาทิตย์แล้ว จะเห็นพื้นผิวของดวงอาทิตย์ที่มีลวดลายคล้ายกับเม็ดข้าว เปรียบเสมือนเมื่อเราทอดไข่ออกมาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ไข่จะมีสีเหลืองทองและมีเม็ดข้าวเหมือนลายของดวงอาทิตย์ โดยตกแต่งด้วยยอัลฟาฟ่า แป้งทิว และตัดรสชาติด้วยซอสมะเขือเทศ
3. นกกระจาบแตกรัง ในรัชกาลที่ 8
“นกกระจาบแตกรัง” หนึ่งในเมนูอาหารที่ทำจากดอกไม้ โดยกล่องทิพย์ ดอกแคยัดไส้หมูและกุ้งสับ ทานคู่กับน้ำจิ้มรสจัดจ้าน อาหารไทยชาววังที่หาทานได้ยากในปัจจุบัน
ดอกแค เป็นสมุนไพรรสหวานเล็กน้อย มีสรรพคุณช่วยแก้ไข้ ลดอาการไข้ ถอนพิษไข้ในร่างกาย ช่วย แก้ไข้หัวลมหรือไข้เปลี่ยนอากาศ เปลี่ยนฤดูและช่วยในการขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก
🫶คอร์สที่ 2 ทุติยภูมิรัชกาลสานแผ่นดิน
คือ อาหาร 2 รัชกาล 2 คำ ดังนี้
1. หมี่กรอบเสวยสวรรค์ ในรัชกาลที่ 5 หมี่กรอบ หรือ หมี่กรอบเสวยสวรรค์ เป็นอาหารไทยที่ทำจากเส้นหมี่และซอสที่มีรสหวานเป็นหลัก แต่สามารถปรับสมดุลด้วยรสเปรี้ยว ซึ่งโดยปกติจะใช้มะนาว รสเปรี้ยวที่เด่นชัดในจานนี้มักมาจากเปลือกของสกุลส้มของไทยที่เรียกว่าส้มซ่า
หมี่กรอบมีตำนานเล่าขานว่า เมื่อสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเยี่ยมราษฎรโดยเรือบริเวณตลาดพลู และได้กลิ่นเส้นหมี่ที่ชาวจีนไหหลำผัดในครั้งนั้นชื่อ จีนหลี จึงทรงแวะที่ท่าน้ำตลาดพลูเพื่อเสวยหมี่กรอบ และทรงชมว่าอร่อย ทำให้จานนี้ได้รับชื่ออื่นว่า หมี่กรอบรัชกาลที่ 5
2. ขนมเบื้องไทยไส้กุ้ง ในรัชกาลที่ 3 ขนมเบื้องเป็นขนมไทยที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เชื่อว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นแผ่นแป้ง ส่วนผสมหลัก คือ แป้งข้าวเจ้า ไข่แดง น้ำปูนใส และน้ำตาลปี๊บ มีไส้รสต่างๆ มีหลักฐานกล่าวถึงในคำให้การขุนหลวงหาวัดว่า “บ้านหม้อปั้นหม้อข้าวหม้อแกงใหญ่เล็ก และกระทะเตาขนมครกขนมเบื้อง” ขนมเบื้องมีหลายแบบ ขนมเบื้องไทยแบบชาววัง หน้ากุ้งและหน้าหวาน หน้ากุ้งใช้กุ้งแม่น้ำตัวโตสับละเอียดผสมกับพริกไทยและผักชีตำพร้อมมันกุ้ง นำไปผัดใส่น้ำตาล น้ำปลาหรือเกลือให้หอม
🫶คอร์สที่ 3 โพสพพิภพสยามราชธานี
โพสพพิภพสยามราชธานี เป็นอาหารไทยที่รับประทาน 1 ใน 5 คอร์ส อาหารไฟน์ไดนิ่ง 10 รัชกาล ซึ่งโพสพพิภพสยามราชธานี คือ ข้าวแช่ที่ทุกคนรู้จักกันดีนั้นเอง
ข้าวแช่เป็นอาหารไทยโบราณที่นิยมรับประทานในช่วงฤดูร้อนของไทย หรือช่วงเทศกาลสงกรานต์ โดยมีต้นกำเนิดมาจากประเพณีสงการณ์ของชาวมอญ ในสมัยโบราณนิยมรับประทานในช่วงกลางเดือนมีนาคม จนถึงกลางเดือนพฤษภาคม และข้าวแช่จานนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากในรัชกาลที่ 4
ข้อาวเเช่คอสนี้ ประกอบไปด้วย
– ลูกกะปิ
– หอมสอดไส้ทอด
– ไชโป๊วผัดหวาน
– หมูฝอย
– ปลายี่สนผัดหวาน
– พริกรังบวบ
– ไข่เเดงเค็มทอด
และผักเครื่องเคียง มะม่วงดิบ กระชาย
🫶คอร์สที่ 4 โพสพแขกอย่างสยามนั้นเรียกว่าข้าวบุหรี่
โพสพแขกอย่างสยามนั้นเรียกว่าข้าวบุหรี่ จัดเป็นอาหารไทยโบราณในรัชกาลที่ 1 โดยมีมาตั้งแต่ในสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่มีชาวแขกเปอร์เซียมาค้าขายแลกเปลี่ยนสัมพันธไมตรี ได้มีการถ่ายทอดการทำข้าวบริยานี่ ข้าวบุหรี่ มีส่วนผสมและเครื่องเทศที่แตกต่างจากข้าวหมกไก่ เพราะเป็นเครื่องเทศที่นำเข้ามาจากดินแดนภารตะนามว่าประเทศอินเดีย
ข้าวบุหรี่ คำว่า บุหรี่ นั้นมีที่มา แต่เดิมมีชื่อว่าเรียกว่า บริยานี่ เป็นภาษาเปอร์เซียเรียกกันไปเรียกกันมาเพี้ยนกลายเป็น บุหรี่ นั้นเอง
🫶คอร์สที่ 5 ปฐมภูมิทองสุวรรณมัศกอด
ปฐมภูมิทองสุวรรณมัศกอด เป็นขนมไทยจานหวานที่ปิดท้ายของคอร์สอาหารไฟน์ไดนิ่ง 10 รัชกาล ซึ่งขนมหวานไทยจานนี้ ประกอบด้วยขนมที่มีเรื่องเล่า 3 รัชกาล ดังนี้
1. มัศกอด ในรัชกาลที่ 2
มัศกอดเป็นขนมหวานที่มีมาแต่ยุคอาณาจักรอยุธยา โดยได้รับอิทธิพลจากชาวเปอร์เซียที่เข้ามาค้าขายในสมัยนั้น
2. ดาราทอง ในรัชกาลที่ 7
ดาราทอง หรือ ทองเอกกระจัง จัดเป็นขนมไทยชั้นสูงที่มีรูปลักษณ์สวยงามวิจิตรงดงามคล้ายมงกุฎ ศิราภรณ์
3. มะกรูดลอยแก้ว แทนลูกจันทร์น้ำกะทิ ในรัชกาลที่ 6